นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยกรณีการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ระบุว่า ตามความเห็นของกฤษฎีกา คือ รัฐธรรมมนูญปี 60 ได้เขียนเป็นแนวนโยบายเป็นพื้นฐานไว้ ว่าอย่างน้อยรัฐจะต้องดูแลผู้ที่มีอายุ 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และบุคคลผู้ยากไร้
"เบี้ยผู้สูงอายุ" ยังจ่ายเหมือนเดิม! "จุติ" ยันไม่มีสะดุด โยนรัฐบาลใหม่เคาะหลักเกณฑ์
“เบี้ยผู้สูงอายุ 2566” เช็กเงื่อนไข วิธีลงทะเบียน พร้อมปฏิทินการจ่ายเงิน คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าเขียนไว้ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือไม่ใช่รัฐสวัสดิการ เฉพาะตามเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่รัฐสวัสดิการแต่เป็นการดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่หากรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาจะไปกำหนดใหม่ให้มากขึ้นก็เป็นนโยบายของรัฐบาล เช่น กำหนดใหเป็นสวัสดิการอย่างที่ผ่านมา และต้องจ่ายใครบ้าง ทั้งนี้ จากการหารือระเบียบเดิม ได้ระบุว่าใครที่รับเงินจากรัฐไปแล้วนั้น ห้ามรับเบี้ยยังชีพอีก กฤษฎีกาต้องเห็นค้านว่าไม่ได้ในเมื่อรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ต้องเป็นผู้ยากไร้ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ว่าไปรับเงินที่อื่นใดมาเกี่ยว กฤษฎีกาจึงความเห็นว่า เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ กฤษฎีกาเพียงแค่ตั้งข้อสังเกตุ ส่วนจะฟังไม่ฟังก็เรื่องของรัฐบาล เป็นการให้ข้อแนะนำไม่ได้บังคับใคร ส่วนจะเชื่อไม่เชื่อก็แล้วต่อ
สุดท้ายหากมีปัญหาก็ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอยู่ดี อย่าให้เป็นประเด็นการเมืองมากเลยประเทศวุ่นวายพอแล้ว ส่วนรัฐบาลจะให้มากกว่าก็เป็นเรื่องของรัฐบาลแต่มีเงินหรือไม่ ส่วนบทเฉพาะกาลจะต้องรอจนกว่าจะมีกฎเกณฑ์ใหม่เข้ามา แต่บทเฉพาะกาลดังกล่าวรองรับถาวรคนที่เคยได้ก็ได้ไปตลอดชีวิต ส่วนกฎหมายจะต้องรอไปขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์