สำนักข่าวต่างประเทศรายงานโดยอ้างคำพูดของแหล่งข่าวหลายคนที่ระบุว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของกลุ่ม G20 ที่อินเดียในวันที่ 9-10 ก.ย.และจะเดินทางเยือนเวียดนามหลังจากนั้น แต่การเข้าร่วมการประชุมอาเซียนในวันที่ 4-7 ก.ย.ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ยังคงมีความไม่แน่นอน
โดยมีความเป็นไปได้ที่ไบเดนจะส่งนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ เข้าร่วมการประชุมอาเซียนแทนเขา เนื่องจากนางแฮร์ริสได้เคยเดินทางเยือนภูมิภาคดังกล่าวก่อนหน้านี้
โอละพ่อ! “Lil Tay” ยังไม่เสียชีวิต เผยอินสตาแกรมถูกแฮก คำพูดจาก สล็อตวอเลท
อุกอาจ! ผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ถูกลอบยิงเสียชีวิต
FBI วิสามัญฯ ชายชาวยูทาห์ โพสต์ขู่ลอบสังหารประธานาธิบดี “โจ ไบเดน”
อย่างไรก็ตาม นักการทูตเอเชียหลายคนเตือนว่า หากไบเดนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมอาเซียน ก็จะสร้างความผิดหวังต่อประเทศในภูมิภาค และทำให้เกิดข้อสงสัยต่อพันธกรณีของสหรัฐที่มีต่ออินโด-แปซิฟิก ท่ามกลางความแผ่ขยายแผ่ขยายอิทธิพลของจีน
ขณะเดียวกัน ไบเดนได้ลงนามคำสั่งห้ามการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบางประเภทในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า เพื่อป้องกันการที่ภาคเอกชนสหรัฐเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับกองทัพจีน และอาจกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐภายหลัง
คำสั่งนี้คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ( 2024) โดยมุ่งเน้นไปที่การห้ามลงทุนในเซมิคอนดักเตอร์ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ควอนตัม และเทคโนโลยี AI บางชนิดเนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้มีความสำคัญและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกองทัพจีนได้ ทั้งหน่วยสืบราชการลับ หน่วยเฝ้าระวัง รวมถึงความสามารถทางไซเบอร์ที่อาจเป็นภัยต่อสหรัฐ
นอกจากนี้คำสั่งดังกล่าวยังระบุให้ผู้ประกอบการที่ต้องการไปลงทุนในด้านอื่น ๆ ต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบด้วย โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐเผยว่าคำสั่งใหม่นี้จะไม่กระทบต่อธุรกิจสหรัฐและจีน ธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศจะยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่แค่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังมากขึ้น
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์จีนได้ออกมาตอบโต้อย่างแข็งกร้าว โดยวิจารร์ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวขัดแย้งกับเศรษฐกิจการตลาดและหลักการแข่งขันอย่างเป็นธรรมที่สหรัฐให้การสนับสนุนมาโดยตลอด”
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์จีนยังเตือนว่ามาตรการเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการและการตัดสินใจของบริษัทต่าง ๆ อีกทั้งบ่อนทำลายระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งจะทำให้ความมั่นคงของอุตสาหกรรมและห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกหยุดชะงักอย่างรุนแรง”