ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ประจำปี 2566 ในส่วนของไทย อยู่อันดับที่ 30 ดีขึ้น 3 อันดับจากปีก่อน
ซึ่งการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปี 2566 ของ IMD พบว่า ลำดับของ ประเทศไทย ดีขึ้น 3 อันดับจากเดิมอยู่ในอันดับที่ 33 ในปี 2565 อยู่ที่อันดับ 30 โดยผลการจัดอันดับปัจจัยหลักทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่
– สมรรถนะทางเศรษฐกิจ อยู่ที่อันดับ 16 ดีขึ้น 18 อันดับ (ปี 2565 อันดับ 34)
– ประสิทธิภาพภาครัฐ อยู่ที่อันดับ 24 ดีขึ้น 7 อันดับ (ปี 2565 อันดับ 31)
– ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ อยู่ที่อันดับ 23 ดีขึ้น 7 อันดับ (ปี 2565 อันดับ 30)
– โครงสร้างพื้นฐาน อยู่ที่อันดับ 43 ดีขึ้น 1 อันดับ (ปี 2565 อันดับ 44)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในปี 2566 IMD ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในภาพรวม ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นทั้งหมดจากผลการจัดอันดับปัจจัยหลักทั้ง 4 กลุ่ม
ซึ่งเมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับในปีนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีทาง “สมรรถนะทางเศรษฐกิจ” อันดับขยับขึ้นถึง 18 อันดับ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คาดว่าสาเหตุหลักเป็นผลมาจากปัจจัยย่อยทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจในประเทศ การค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การจ้างงาน และระดับราคามีอันดับดีขึ้น จึงส่งผลให้อันดับทางด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ทะลุ 11.8 ล้านคน นิวไฮในรอบกว่า 3 ปี
รู้จัก Digital Nomad นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ โอกาสไทยเปิดประตูต้อนรับ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยย่อยด้านการศึกษา สุขภาพและสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ อันดับลดลง
ส่วนในอาเซียน ในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับโดย IMD 5 เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงสุดในภูมิภาคโดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองลงมาคือ มาเลเซียอันดับ 27 ไทยอันดับ 30 อินโดนีเซียอันดับ 34 และฟิลิปปินส์อันดับ 52 ตามลำดับ
ขณะที่ อินโดนีเซียมีอันดับดีที่ขึ้นถึง 10 อันดับจากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 44 มาอยู่ที่อันดับ 34 ในปีนี้ จากปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency)
ขณะที่ภาพรวมในระดับโลก เดนมาร์กยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว รองลงมาได้แก่ ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และ เนเธอร์แลนด์ตามลำดับ
เขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้น ๆ ของโลกในปีนี้ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller Economies) ที่มีกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional frameworks) ที่ดี รวมถึงมีระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง (Strong education systems) นอกจากนั้น ประเทศที่มีแหล่งผลิตพลังงานที่มั่นคง ห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง และดุลการค้าที่ดี เช่น จีน ซาอุดีอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ และไต้หวัน จะสามารถรักษาหรือพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน